ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



6 ขั้นตอนสู่การเป็นผู้มีเงินใช้ไม่ขัดสน

 

 

   ปีใหม่ 2555 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วนะคะ  และคนส่วนใหญ่กลับมาจากการไปท่องเที่ยวหรือพักผ่อนประจำปีทำงานตามปกติ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็คงคาดหวังว่าชีวิตในปีใหม่นี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมา พรที่ทุกคนต้องการก็คงจะมีอยู่สองประการหลัก ๆ คือ

  (1) จะทำอย่างไรคนเราจึงจะมีชีวิตสุขสบาย ไม่ขัดสน ไม่เดือดร้อนเงินทอง หรือพูดง่าย ๆ ว่าอยากจะร่ำรวย และ

  (2) คงต้องการให้มีสุขภาพที่แข็งแรง 

ดังนั้น ในวันนี้จึงขอนำเอา 6 ขั้นตอนสู่การเป็นผู้มีเงินใช้อย่างสบาย ๆ ซึ่งคัดลอกมาจากหนังสือเกร็ดการออมของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาฝากให้กับผู้อ่านไปใช้นะคะ สำหรับ 6 ขั้นตอนง่าย ๆ ก็คือ

 ขั้นแรก คือต้องมีเงินออมประมาณ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำเดือน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเวลาที่ต้องการใช้เงินฉุกเฉิน

 ขั้นที่สอง จ่ายหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยแพงที่สุด และหนี้สินที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตเสียก่อน

 ขั้นที่สาม ทำประกันชีวิต เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับตัวเองและครอบครัว

 ขั้นที่สี่ ออมทรัพย์กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่าง ๆ รวมถึงกองทุนรวมระยะยาว

 ขั้นตอนที่ห้า ทำประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ

 ขั้นตอนที่หก นำเงินที่เหลือจาก 5 ขั้นแรกและค่าใช้จ่ายประจำไปลงทุนเพิ่มทำให้เงินงอกเงยเพิ่มขึ้น

 การกันเงินไว้สำหรับเพื่อกรณีฉุกเฉิน ก็คือเงินออมส่วนที่เรากันเอาไว้สำหรับการใช้จ่ายกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย การซ่อมแซมรถยนต์หรือบ้านเรือน และเครื่องใช้ต่าง ๆ หากเสียหายและชำรุดเกิดขึ้น

การเก็บเงินเพื่อการฉุกเฉินนั้น จากที่ได้มีการศึกษาไว้พบว่า จำนวนขั้นต่ำที่ควรเก็บไว้คือที่ประมาณ 6 เท่าของรายจ่ายประจำเดือน  ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีค่าใช้จ่ายประจำรายเดือนอยู่ประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน ก็ควรกันเงินในส่วนนี้อยู่ประมาณ 60,000 บาท

 การจ่ายหนี้สินที่มีดอกเบี้ยที่แพงที่สุดออกไปเสียก่อน หมายถึงการบริหารหนี้สินของตนเองให้มีประสิทธิภาพ หนี้นอกระบบหรือหนี้บัตรเครดิตการ์ดหรือสินเชื่อสินค้าส่วนใหญ่จะเก็บในอัตราดอกเบี้ยที่สูงรวมทั้งมีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการติดตามหรือบริหารหนี้ค่อนข้างมาก

นอกจากนั้นเราจะเห็นได้ว่าวิธีหนึ่งที่สร้างหลักประกันสำหรับความต้องการใช้เงินในยามจำเป็นฉุกเฉินคือการประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และ ประกันอุบัติเหตุตามข้อที่สี่และห้านั้น ก็เป็นการสร้างเกราะป้องกันตนเองและครอบครัวจากค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยจากโรคร้ายแรงซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันกับตัวคุณเองหรือสมาชิกในครอบครัวได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องใช้เงินค่ารักษาพยาบาลค่อนข้างสูง อย่างที่เคยมีผู้กล่าวว่า เงินออมมาตลอดชีวิตหรือค่ารักษาพยาบาลตลอดชีวิตยังน้อยกว่าค่ารักษาพยาบาลจากโรคร้ายแรงในช่วง 3 เดือน 6 เดือนสุดท้ายของชีวิต 

 ถ้าหากท่านปฏิบัติตาม 6 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ท่านก็จะมีความมั่นคงในชีวิต ที่ไม่ต้องเดือดร้อนต้องไปขอกู้หนี้สินหรือพึ่งพาผู้อื่น คนที่ทำงานทุกคนจึงต้องมีการจัดสรรการใช้จ่าย การออม และการลงทุนอย่างรอบคอบและมีวินัย

 ก็คงตรวจสอบตัวเองว่าได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนนี้แล้วหรือยัง  ถ้าหากยังก็ควรที่จะเริ่มเก็บออมเสียตั้งแต่วันนี้ ซึ่งก็มีวิธีการตรวจสอบตนเองอย่างง่ายว่ามีเงินออมเพียงพอหรือยัง ดังนี้

 เงินออมที่ควรมีในปัจจุบัน = (1/10) x อายุ x รายได้ทั้งปี

 ตัวอย่างเช่น หากเป็นคนโสดมีอายุ 30 ปี ทำงานมีเงินเดือน เดือนละ 15,000 บาทรายได้ทั้งปีเท่ากับ 180,000 บาท ดังนั้นจึงควรมีเงินออมเท่ากับ 1/10x 30 x 180,000 = 540,000 บาท ซึ่งเงินออมนี้ก็อาจรวมถึงทรัพย์สินสุทธิที่มีอยู่ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ หรืออื่น ๆ เป็นต้น

 ถ้าหากเงินออมที่มีอยู่ยังต่ำกว่าเกณฑ์ข้างต้น แสดงว่าสุขภาพการเงินของท่านยังไม่แข็งแรงจึงควรออมเพิ่มขึ้นนะคะ.

ที่มา : คอลัมภ์เข็มทิศเงินทุน นสพ.เดลินิวส์  วันเสาร์ที่ 7 มกราคม 2555




รวมแนะนำบทความดีๆ

ทำไมผมถึงต้องกราบยาม
ครูกับนักเรียน
10 ไอเดียออมเงินง่ายๆ แต่ได้ผลดี
จะดีแค่ไหนที่เรารู้ว่า ยังมีคนที่คอยดูแล และเป็นที่พึ่งได้เสมอ
คลิปโฆษณาซึ้งๆ "เพราะอนาคตเด็กควรค่าแก่การเสียสละ"
10 นิสัยดีๆที่จะทำให้เรากลายเป็นคนฉลาด
10 สิ่งที่ผู้ชนะชอบทำ
มีเงินเท่าไหร่ ถึงจะพอใช้ยามเกษียณ
ค่าของเงิน
Castaway คนติดเกาะ!! ชีวิตนี้ไม่สิ้นหวัง
ฝึกนิสัยที่ดี จาก 5 ห้องในบ้าน กับ 'อนันต์ อัศวโภคิน' แห่งแลนด์แอนด์เฮาท์
สูตรออมเงินอย่างได้ผล
แรงบันดาลใจ เพื่อค้นหาตัวเอง
ความไว้ใจ
สัญญาณที่ทำให้รู้ว่าชีวิตการทำงานกำลังมาถูกทาง
ก็ยังดีกว่า
พุทธสถาน สถานที่สำคัญทางศาสนา ศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธ
ทำอย่างไร ให้ได้งานทั้งคุณภาพและปริมาณ
เพื่อลูก...
นิทาน เรื่องน้ำกับทิฐิ
ต้นแอปเปิ้ลกับเด็กน้อย
ชาวนากับลาแก่
พระคุณครู...ไม่มีวันเกษียณ
ข้อคิดตามหลักพุทธวจน เพื่อนำไปปฎิบัติในการดำเนินชีวิต
มือของแม่
เข้าใจชีวิต
"บทเรียนมีคุณค่าจากผู้สูงอายุ"...แนะนำให้สอนลูกหลาน
โรคแพ้ไม่เป็น
การลงโทษของพ่อ
จดหมายของพ่อ
สะกิดต่อมแมน...เปิดตำราการเป็นสุภาพบุรษยุคใหม่
พ่อ...ผู้ชายที่ผมเคยเกลียด
ชีวิตคู่ กับ การทำธุรกิจ
ให้ยืมอย่างไร ตัวเราถึงไม่เจ็บปวด
รวมสุดยอด แรงบันดาลใจ
Book Of The Year : หนังสือที่คนดังได้อ่านในปี’54 แล้วประทับใจ
วิธีดูคน อ่านคน จากสามก๊ก
ความทะนงตนของแมลงวัน
คนมีเสน่ห์
จะเข้มแข็ง...หรือจะอ่อนแอ
ออมวันนี้เพื่อชีวิตที่สุขสบายในวันข้างหน้า
10 วิธีในการคิดต่างตามแบบแอปเปิล
ใช้บัตรเครดิตอย่างไร ไม่ให้เดือดร้อน
ระวังภัย!... “แก๊งโจรกรรมรถ”
ถามเถิดจะเกิดผล
แฉกลโกงใหม่ ! ...ภัยจาก แก๊งค์ Call Center
กำลังใจ
ทำอย่างไรให้ลูกเป็นเด็กสองภาษา
Save Big - แนะวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายก้อนโต
ลัทธิบริโภคนิยม
จับมือฉัน (Hold My Hand)
"คุณเคยทำสิ่งที่ผิดพลาดในชีวิตหรือไม่ ? "
อยากได้เงินเดือนขึ้นทำอย่างไรดี
คุณค่าของคน : อยู่ที่ตัวเอง (นายสตีฟ จอบส์)
วิธีเอาชนะ...ความขี้เกียจ
ถ้าคุณเป็นหนี้ต้องทำอย่างไร
คนรวยด้วยการทำงาน
ทำอย่างไรในเมื่อคุณเกิด...ไม่มีความสุขในการทำงาน
ทำอย่างไรให้รวย
เพื่ออะไร...
งานทรมานกับงานในฝัน
ฝันให้ไกล...ไปให้ถึง
ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้
แก้วที่ไม่เคยพอ
เค้าว่ากันว่า...(เรื่องเปรียบเทียบระหว่างหนังสือกับความรัก)
เทคนิคการสร้างภาพลักษณ์ของตนเองให้ประทับใจ
ใบลาออกจากความทุกข์
พฤติกรรมที่นำสู่ความสุข
วิธีพลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาส
10 คำพูดดีๆที่ลูกอยากได้ยินจากพ่อแม่
วิธีปฎิบัติหกประการเพื่อทำให้ผู้อื่นชอบท่าน
ทำยังไงดี เมื่อเงินออมไม่มี เงินที่เป็นหนี้ก็ยังไม่หมด
ชีวิตนี้...ยังมีทิศตะวันออก
"เราควรเอาใจใส่ในงาน...แต่ไม่นำงานมาใส่ในใจ"
" เด็กขี้ขโมย"
สิ่งที่เรามักจะนึกเสียใจก่อนเสียชีวิต
การเงินกับผู้หญิง
พ่อครับ...ผมขอโทษ
พ่อแห่งศตวรรษ (Father of the century)
เลี้ยงลูกอย่างไร ให้ได้ดี
นิทานของพ่อ
เงินที่หล่นหาย
10 หนทางสู่ความสำเร็จจากนักธุรกิจดัง
วางแผนการเงิน เรื่องของคนทุกวัย
คุณเคยดูถูกคนอื่นว่าแย่กว่าคุณบ้างหรือไม่
บทเรียนชีวิตจาก "ไมเคิล แจ็คสัน" ในแง่การใช้เงิน
วิธีคิดเมื่อต้องเป็นผู้แพ้
ออมสินเวลา
แก้ปัญหาหนี้ด้วยสติ
วางแผนการเงินเป็นเรื่องของทุกคน
ลิขิตฟ้า หรือจะสู้มานะตน
ปัญหามีให้สู้ ไม่ใช่ให้ถอย!!!
ความซื่อสัตย์
อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง
Clip ลุกขึ้น!! อีกครั้ง...กำลังใจสำหรับคนที่ท้อแท้
ทำอย่างไรเมื่อ (ใจ) เป็นหนี้
หนุ่มบ้านนอก
คาถาหัวใจเศรษฐี
สัญญาณอันตรายที่เตือนว่า...คุณต้องปรับปรุงทักษะการฟังของคุณ